เมื่อวันอังคารที่ 18 มกราคม 2554 โรงเรียนอัสสัมชัญ จัดพิธี วัน ฟ. ฮีแลร์รำลึก โดยมีภราดาอานันท์ ปรีชาวุฒิ ผู้อำนวยการ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยภราดาพิสูตร วาปีโส รองผู้อำนวยการ / หัวหน้าฝ่ายโปรแกรมภาษาอังกฤษ คณะผู้ร่วมบริหาร ครู นักเรียน ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์เจษฏาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
ภราดาอานันท์ ปรีชาวุฒิ ผู้อำนวยการ ให้โอวาทกับนักเรียน ความตอนหนึ่งว่า “... โรงเรียนอัสสัมชัญก่อตั้งโดย คุณพ่อเอมิล กอลมเบต์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศส เจ้าอาวาสวัดสวนท่าน (อาสนวิหารอัสสัมชัญ) เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 เป็นโรงเรียนคาทอลิกแห่งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมา พ.ศ. 2444 คุณพ่อกอลมเบต์มอบให้ภราดาคณะเซนต์คาเบรียลจากฝรั่งเศสเข้ามาบริหารโรงเรียนแทนท่าน ในครั้งนั้นมีภราดาคณะแรกจำนวน 5 ท่าน เดินทางมาเมืองไทยเพื่อรับช่วงงานด้านการศึกษาต่อจากคุณพ่อกอลมเบต์ เมื่อมีภราดาคณะเซนต์คาเบรียลแขวงประเทศไทยแล้วได้ก่อตั้งมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เพื่อดูแลการบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลฯ โรงเรียนอัสสัมชัญจึงเป็นโรงเรียนแห่งแรกของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลฯ และในปีการศึกษา 2552 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 โรงเรียนอัสสัมชัญ มีอายุครบ 125 ปี แห่งการก่อตั้ง ในนามโรงเรียนอัสสัมชัญ รู้สำนึกในพระคุณของคณะภราดาทั้ง 5 ท่าน จึงมีนโยบายที่จะจัดสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่คณะภราดาทั้ง 5 ท่าน ซึ่ง 1 ในคณะภราดานั้นได้แก่ ภราดา ฮีแลร์ บุคคลซึ่งมีความสำคัญกับการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญ และเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยที่ได้รับการยอมรับ พวกเราชาวอัสสัมชัญได้เรียนหนังสือเรียนภาษาไทย โดยใช้ตำราเรียนดรุณศึกษา ที่เป็นผลงานของภราดา ฮีแลร์ ท่านได้รวบรวมผลงานด้านภาษาไทย นานกว่า 17 ปี นับได้ว่าท่านเป็นนักค้นคว้า นักปราชญ์ ด้วยความพากเพียร เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ ถือเป็นแบบอย่างในเรื่องการเรียบง่าย การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการปรับตัว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องความพอเพียง ในวันนี้เป็นวันรำลึกถึง เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ ท่านเป็นนักแต่งกลอนสอนใจ บทกลอนของท่านยังคงเป็นบทกลอนที่นำมาสอนนักเรียนให้รู้คิด รู้วิเคราะห์ โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์ นักเรียนคงจำได้เมื่อครั้งที่ให้คำมั่นสัญญาในวันไหว้ครู นั่นคือ ข้อสัญญาที่ให้ไว้กับคุณครูว่าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน อย่าให้คำมั่นสัญญาเป็นเพียงแค่ลมปากเท่านั้น เป้าหมายของอัสสัมชัญ คือ การสอนศิษย์ทุกคนให้เป็นคนดี คนเก่งนั้นถือเป็นพระพรจากพระเจ้า สิ่งสำคัญคือ การเป็นนักเรียนที่ดี เป็นลูกที่ดี และเป็นศิษย์ที่ดี เป็นผู้ทุ่มเท เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดี การทำความดีอยู่ที่ใจของทุกคน ถ้ามีการโกงกินสถาบันก็จะล่มสลาย ดังนั้น ความเป็นอัสสัมชัญ จึงถือเป็นแบบอย่างความซื่อสัตย์ ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ต่อสถาบัน และต้องเป็นผู้สำนึกดีตลอดชีวิต โดยยึดแบบการดำเนินชีวิตและคำสอนของเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ เป็นแบบอย่าง ...”
จำนวนภาพในอัลบั้มนี้ 40 ภาพ
ข่าวที่นำอัลบั้มนี้ไปอ้างอิง (จำนวน 1 ข่าว )
- งาน วัน ฟ. ฮีแลร์รำลึก
หน่วยงานที่นำอัลบั้มนี้ไปอ้างอิง (จำนวน 0 หน่วยงาน )
แผนงาน (จำนวน 0 แผนงาน )
โครงการ (จำนวน 0 โครงการ )
ภาพโดยนักเรียน: ไม่ได้แจ้งในระบบ
วันที่โพสต์ : 19 ม.ค. 2554 วันที่ถ่ายภาพ : null
เมื่อวันอังคารที่ 18 มกราคม 2554 โรงเรียนอัสสัมชัญ จัดพิธี วัน ฟ. ฮีแลร์รำลึก โดยมีภราดาอานันท์ ปรีชาวุฒิ ผู้อำนวยการ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยภราดาพิสูตร วาปีโส รองผู้อำนวยการ / หัวหน้าฝ่ายโปรแกรมภาษาอังกฤษ คณะผู้ร่วมบริหาร ครู นักเรียน ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์เจษฏาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
ภราดาอานันท์ ปรีชาวุฒิ ผู้อำนวยการ ให้โอวาทกับนักเรียน ความตอนหนึ่งว่า “... โรงเรียนอัสสัมชัญก่อตั้งโดย คุณพ่อเอมิล กอลมเบต์ บาทหลวงชาวฝรั่งเศส เจ้าอาวาสวัดสวนท่าน (อาสนวิหารอัสสัมชัญ) เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2428 เป็นโรงเรียนคาทอลิกแห่งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมา พ.ศ. 2444 คุณพ่อกอลมเบต์มอบให้ภราดาคณะเซนต์คาเบรียลจากฝรั่งเศสเข้ามาบริหารโรงเรียนแทนท่าน ในครั้งนั้นมีภราดาคณะแรกจำนวน 5 ท่าน เดินทางมาเมืองไทยเพื่อรับช่วงงานด้านการศึกษาต่อจากคุณพ่อกอลมเบต์ เมื่อมีภราดาคณะเซนต์คาเบรียลแขวงประเทศไทยแล้วได้ก่อตั้งมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย เพื่อดูแลการบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลฯ โรงเรียนอัสสัมชัญจึงเป็นโรงเรียนแห่งแรกของมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลฯ และในปีการศึกษา 2552 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 โรงเรียนอัสสัมชัญ มีอายุครบ 125 ปี แห่งการก่อตั้ง ในนามโรงเรียนอัสสัมชัญ รู้สำนึกในพระคุณของคณะภราดาทั้ง 5 ท่าน จึงมีนโยบายที่จะจัดสร้างอนุสาวรีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่คณะภราดาทั้ง 5 ท่าน ซึ่ง 1 ในคณะภราดานั้นได้แก่ ภราดา ฮีแลร์ บุคคลซึ่งมีความสำคัญกับการศึกษาของโรงเรียนอัสสัมชัญ และเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทยที่ได้รับการยอมรับ พวกเราชาวอัสสัมชัญได้เรียนหนังสือเรียนภาษาไทย โดยใช้ตำราเรียนดรุณศึกษา ที่เป็นผลงานของภราดา ฮีแลร์ ท่านได้รวบรวมผลงานด้านภาษาไทย นานกว่า 17 ปี นับได้ว่าท่านเป็นนักค้นคว้า นักปราชญ์ ด้วยความพากเพียร เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ ถือเป็นแบบอย่างในเรื่องการเรียบง่าย การใช้ชีวิตบนพื้นฐานของการปรับตัว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องความพอเพียง ในวันนี้เป็นวันรำลึกถึง เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ ท่านเป็นนักแต่งกลอนสอนใจ บทกลอนของท่านยังคงเป็นบทกลอนที่นำมาสอนนักเรียนให้รู้คิด รู้วิเคราะห์ โดยเฉพาะเรื่องความซื่อสัตย์ นักเรียนคงจำได้เมื่อครั้งที่ให้คำมั่นสัญญาในวันไหว้ครู นั่นคือ ข้อสัญญาที่ให้ไว้กับคุณครูว่าจะตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน อย่าให้คำมั่นสัญญาเป็นเพียงแค่ลมปากเท่านั้น เป้าหมายของอัสสัมชัญ คือ การสอนศิษย์ทุกคนให้เป็นคนดี คนเก่งนั้นถือเป็นพระพรจากพระเจ้า สิ่งสำคัญคือ การเป็นนักเรียนที่ดี เป็นลูกที่ดี และเป็นศิษย์ที่ดี เป็นผู้ทุ่มเท เสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดี การทำความดีอยู่ที่ใจของทุกคน ถ้ามีการโกงกินสถาบันก็จะล่มสลาย ดังนั้น ความเป็นอัสสัมชัญ จึงถือเป็นแบบอย่างความซื่อสัตย์ ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ต่อสถาบัน และต้องเป็นผู้สำนึกดีตลอดชีวิต โดยยึดแบบการดำเนินชีวิตและคำสอนของเจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ เป็นแบบอย่าง ...”
จำนวนภาพในอัลบั้มนี้ 40 ภาพ
ข่าวที่นำอัลบั้มนี้ไปอ้างอิง (จำนวน 1 ข่าว ) - งาน วัน ฟ. ฮีแลร์รำลึก หน่วยงานที่นำอัลบั้มนี้ไปอ้างอิง (จำนวน 0 หน่วยงาน ) แผนงาน (จำนวน 0 แผนงาน ) โครงการ (จำนวน 0 โครงการ ) ผู้ถ่ายภาพ: ผู้ถ่ายภาพนักเรียน: ไม่ได้แจ้งในระบบ ผู้โพสต์: กำหนดการที่นำไปอ้างอิง : รายชื่อผู้ร้องขอไฟล์ภาพต้นฉบับ (ความละเอียดสูง) |
วันที่โพสต์ : 19 ม.ค. 2554 วันที่ถ่ายภาพ : null